อุทาหรณ์! สาววัย 28 ไตพัง ค่าไตเท่ากับคนอายุ 80 ทั้งที่ไม่ได้ป่วย หมอพบต้นตอ เหตุเกิดอยากสวยทันใจ (ตปท.)

อุทาหรณ์! สาววัย 28 ไตพัง ค่าไตเท่ากับคนอายุ 80 ทั้งที่ไม่ได้ป่วย หมอพบต้นตอ เหตุเกิดอยากสวยทันใจ (ตปท.)

 

เมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ เว็บไซต์ต่างประเทศ Setn ได้มีการรายงานเคสชวนตกใจที่เกิดขึ้นได้กับคนอายุน้อย หลังหญิงสาววัย 28 ปีรายหนึ่งจากประเทศไต้หวัน ถูกตรวจพบว่า กำลังเสี่ยงต่อภาวะไตวาย หลังอัตราการกรองไตของเธอเท่ากับคนอายุ 80 ปี ก่อนจะพบสาเหตุที่มาจากพฤติกรรมดูแลร่างกายของเธอ จนส่งผลให้เกิดอันตรายกับร่างกายโดยไม่รู้ตัว

ไม่มีคำอธิบาย
ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา

โดยเรื่องราวนี้ถูกเปิดเผยจาก หง หยงเซียง แพทย์และนักไตวิทยาชาวไต้หวัน เผยว่า เคยมีเคสหนึ่งที่ได้ตรวจคนไข้สาววัย 28 ปี ก่อนจะต้องตกใจกับค่าไตของคนไข้รายนี้ เพราะปกติปล้วคนหนุ่มสาวจะต้องมีคะแนนอยู่ที่ 100 คะแนน แต่คนไข้สาวกลับมีอัตราการกรองของไตอยู่ที่ 50 คะแนน ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วง เพราะหากตัวเลขต่ำกว่า 60 ก็ถือว่ามีเกณฑ์เสี่ยงภาวะไตวายแล้ว

ไม่มีคำอธิบาย

นอกจากนี้ สิ่งที่น่ากังวลของคนไข้รายนี้ มาจากค่าไตที่อยู่ในระดับ 50 คะแนน เป็นตัวเลขที่เทียบเท่ากับค่าไตของคนในวัย 80 ปี สิ่งที่แปลกเข้าไปอีก คือเธอนั้นไม่มีโรคประจำตัวเลย ไม่เป็นเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง และไม่ได้ทานอาหารเสริมแปลก ๆ แพทย์จึงครุ่นคิดงพยายามหาสาเหตุ ว่าอะไรกันทำให้ไตของเธออยู่ในภาวะน่าเป็นห่วงเช่นนี้
ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา

 

จนกระทั่งได้ทราบข้อมูลว่า คนไข้สาวมีพฤติกรรมกิน ยาขับปัสสาวะ ซึ่งกินมาหลายปีแล้วจากคำแนะนำของเพื่อน เนื่องจากเธอเป็นสาวอวบ รูปร่างท้วม ดังนั้นทุกครั้งที่เธอต้องแต่งตัวและออกไปเจอแฟนหนุ่ม เธอจะกินยาเม็ดเพื่อขับปัสสาวะ เพราะมันช่วยให้เธอขับปัสสาวะได้ 3,000 ซีซี. เทียบเท่ากับการลดน้ำหนักได้ 3 กิโลกรัม ส่งผลให้รู้สึกมั่นใจในรูปร่างของตัวเองได้ทันที แต่ผลข้างเคียงของการทำวิธีการนี้เป็นเวลานาน ย่อมส่งผลกระทบต่อไตของเธอ

ไม่มีคำอธิบาย
คุณหมอหยงเซียง ให้ความรู้ว่า ยาขับปัสสาวะอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำฉับพลัน และความผิดปกติของค่า pH ในร่างกาย และเพื่อรักษาการทำงานของไตหญิงสาว หมอจึงห้ามคนไข้รายนี้ใช้ยาตัวดังกล่าว และเข้ารับการรักษาไตตามที่กำหนด หลังจากเข้ารับการรักษาและเชื่อฟังคำแนะนำของคุณหมอ หลังจากผ่านไป 3 เดือน การทำงานของไตของเธอก็กลับมาอยู่ที่ 70 คะแนน

ไม่มีคำอธิบาย

 

ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา

สุดท้ายนี้ คุณหมอ ก็ไม่ลืมที่จะเตือนด้วยว่า ยาที่มีผลทำลายไตซึ่ งพบบ่อยที่สุด 4 ประเภท ประกอบด้วย ยาขับปัสสาวะ ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะ และยาที่ใช้ฉีดร่วมกับการตรวจในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และการสวนหัวใจ ผู้ป่วยควรปรึกษากับแพทย์อย่างรอบคอบก่อนใช้

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *