รองแม่ทัพภาคที่ 2 พล.ต.ณัฏฐ์ เขียนเล่าประสบการณ์ผลักดันทหารเขมร บทเรียนเจอกับระเบิด

รองแม่ทัพภาคที่ 2 พล.ต.ณัฏฐ์ เขียนเล่าประสบการณ์ผลักดันทหารเขมร บทเรียนเจอกับระเบิด

รองแม่ทัพภาคที่ 2 พล.ต.ณัฏฐ์ เขียนเล่าประสบการณ์ผลักดันทหารเขมร บทเรียนเจอกับระเบิด

นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีหนังสือด่วนที่สุดถึงผู้ว่าราชการจังหวัด 7 จังหวัด

กรณีเกิดเหตุการณ์ปะทะระหว่างทหารไทยและทหารกัมพูชา บริเวณชายแดนช่องบก อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568.ที่ผ่านมา ส่งผลให้ด่านชายแดนไทย-กัมพูชา และพื้นที่อื่น ต้องเพิ่มมาตรการป้องกันและระมัดระวังเหตุลุกลามมากยิ่งขึ้น โดยเน้นย้ำแนวทางปฏิบัติเพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้

1. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด สั่งการให้นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ดำเนินการตามภารกิจการดูแลความมั่นคงภายใน ให้ความสำคัญสูงสุดกับการดูแลความปลอดภัยของประชาชน โดยประเมินสถานการณ์ จำนวนประชาชนในพื้นที่เสี่ยง ชี้แจงแผนอพยพประชาชน กำหนดจุดรวมพลและจุดพักพิงในพื้นที่ปลอดภัย ตลอดจนการดูแลประชาชนในจุดพักพิง ให้ทุกขั้นตอนปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

พร้อมปรับปรุงแผนเผชิญเหตุ กำหนดขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่ เตรียมกำลังพลให้มีความพร้อมปฏิบัติการดูแลความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนสนับสนุนหน่วยทหารในการดูแลความปลอดภัยในพื้นที่

2. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะผู้บัญชาการอาสารักษาดินแดนจังหวัด สั่งการเจ้าหน้าที่และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน เตรียมความพร้อมกำลังพลเพื่อปฏิบัติงานในยามฉุกเฉิน ตรวจสอบพื้นที่ล่อแหลม สนับสนุนการเฝ้าตรวจและจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน หากเกิดภาวะไม่ปกติให้ปฏิบัติตามแนวทางในแผนรักษาความมั่นคงตามแนวชายแดนและพิทักษ์พื้นที่เขตหลัง ประกอบแผนสั่งใช้สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ปฏิบัติภารกิจประจำปี กรกฎาคม พ.ศ. 2568

3. ประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงสถานการณ์และแจ้งข่าวสารทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกและสามารถปฏิบัติตนได้เมื่อเกิดสถานการณ์

4. กรณีเกิดสถานการณ์ความไม่สงบอันส่งผลต่อความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ ให้จังหวัดรายงานสถานการณ์ให้กรมการปกครองทราบในวาระแรกโดยเร็วที่สุดจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

ประกอบด้วย ตราด จันทบุรี สระแก้ว อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ กำชับแนวทางการปฏิบัติงานในสถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา

พลตรี ณัฏฐ์ ศรีอินทร์ รองแม่ทัพภาคที่ 2 เขียนเล่าประสบการณ์ขณะนำกำลังเข้าผลักดัน ทหารกัมพูชา เมื่อปี 2552 และ 2554 และบทเรียนพื้นที่ที่กัมพูชาจะวางกับระเบิด
วันที่ 18 ก.ค.2568 พลตรี ณัฏฐ์ ศรีอินทร์ รองแม่ทัพภาคที่ 2 ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เขียนเล่าประสบการณ์ขณะนำกำลังเข้าผลักดัน ทหารกัมพูชา เมื่อปี 2552 และ 2554 และบทเรียนพื้นที่ที่กัมพูชาจะวางกับระเบิด

โดย พลตรี ณัฏฐ์ ศรีอินทร์ รองแม่ทัพภาคที่ 2 ระบุว่า จากประสบการณ์ของผม…

1. เมื่อ 21 ก.ค.52 เวลา 16.30 น. ทหารกัมพูชานำกำลังประมาณ 50 นายรุกขึ้นยึดเขาสัตตะโสม อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ผมใช้กำลังเข้าผลักดันลงได้ทั้งหมดเวลาประมาณ 23.00 น. แต่ยังคงวางกำลังควบคุมพื้นที่ไว้ยังไม่เข้าเคลียร์ รุ่งเช้าได้ใช้ชุดตรวจค้นทุ่นระเบิดเข้าเคลียร์จนถึงจุดที่ทหารกัมพูชาปีนหน้าผาขึ้นมา พบกับระเบิดทั้งเก่าและใหม่จำนวนมาก น้องพลทหารคนหนึ่งเหยียบกับระเบิดเก่าทำงานไม่เต็มที่ เกิดระเบิดแต่แรงระเบิดแค่ทำให้ส้นรองเท้าคอมแบทสึกไม่ถึงเนื้อ…น้องแขวนหลวงปู่เจียมเลยปลอดภัย

2. เมื่อ มิ.ย.54 หลังเจรจาหยุดยิง กำลังพลเดินลาดตระเวนตามเส้นทางเดิมในพื้นที่ช่องกร่าง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ตรวจพบทุ่นระเบิดใหม่ที่ฝ่ายกัมพูชาลักลอบเข้ามาวางเพื่อจำกัดการเดินลาดตระเวนของฝ่ายเรา ผมแจ้งฝ่ายกัมพูชาเขาอ้างว่าเป็นกับระเบิดเก่า ผมจึงชวน ผบ.หน่วยเขามาเดินลาดตระเวนเพื่อไปตรวจสอบด้วยกันให้เห็นกับตา จนต้องยอมรับว่าเป็นกับระเบิดใหม่ ผมบังคับให้เขาเก็บกู้ออกให้หมดและไม่ให้ทำเช่นนี้อีกไม่เช่นนั้นจะเจอตาต่อตาฟันต่อฟัน

3. เมื่อ 9 ต.ค.54 ผมนำกำลังเข้าผลักดันทหารกัมพูชาพื้นที่ปราสาทคะนา อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ผมกับลูกน้องอีกคนลุยฝ่ากับระเบิดที่ทหารกัมพูชาวางไว้ป้องกันการโจมตีของฝ่ายเรา หลังผลักดันเสร็จได้นำชุดตรวจค้นทุ่นระเบิดเข้าเคลียร์พื้นที่พบกับระเบิดจำนวน 42 ลูก เป็นกับระเบิดใหม่ทั้งหมด
บทเรียน พื้นที่ที่กัมพูชาจะวางกับระเบิด และเราต้องระวัง
1. พื้นที่ที่เขาถอนกำลังออก
2. เส้นทางลาดตระเวนเดิมที่เขาไม่อยากให้เราใช้
3. เส้นทางลาดตระเวนใหม่
อนุสัญญาออตตาวา หรือข้อตกลงต่างๆเขาพร้อมละเมิดหากได้เปรียบในสนามรบ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *